ขายเมาส์ ขายคีย์บอร์ด ขายหูฟัง ขายเกมส์มิ่งเกียร์ (ติดต่อ Line ID: pairach.aud)

This is default featured slide 1 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 2 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 3 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 4 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 5 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

วันจันทร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2566

ปลั๊กไฟของไทย หน้าตาไม่เหมือนชาติใดในโลก

 

รู้ไหม ปลั๊กไฟของไทย หน้าตาไม่เหมือนชาติใดในโลก

ในสมัยโน้นว่ากันว่าโลกยุคโลกาภิวัตน์จะทำให้ทุกอย่างเหมือนกันหมดเป็นมาตรฐานเดียวทั้งโลก ซึ่งมองในบางแง่ก็ไม่จริง เพราะทุกวันนี้ ถึงทั่วโลกจะบริโภคสื่อหน้าตาคล้ายๆ กัน แต่วัฒนธรรมต่างๆ ก็ยังมีความแตกต่างกันในท้องถิ่น เรียกได้ว่าเป็นสิ่งใหม่ที่เข้าไปประสานกับสิ่งเก่า แล้วออกมาไม่ได้มีมาตรฐานเดียว

นี่เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ เพราะทุกที่มี “รากฐาน” ที่ต่างกัน และรากฐานนั้นก็มาจากวัฒนธรรมที่สืบเนื่องมาเป็นร้อยเป็นพันปีไม่รู้กี่ชั่วคน

แต่จริงๆ แล้ว บางสิ่งที่ต่างกันในโลกที่จริงๆ ไม่ได้เก่าแก่อะไรเลย และก็ไม่มีความจำเป็นต้องต่างกันก็ได้ มันก็ยังต่างกัน และวันนี้เราจะมาพูดถึง “ปลั๊กไฟ”

หลายคนอาจไม่รู้ แต่จริงๆ แล้ว โลกนี้มีรูปแบบปลั๊กไฟถึง 15 แบบด้วยกัน

ปลั๊กไฟทั้ง 15 แบบในโลก | IEEE

ถามว่าทำไมต่างกัน บางคนก็จะบอกว่าเป็นเพราะ “ระบบไฟ” ต่างกัน จริงๆ แล้วไม่ใช่ คือปลั๊กกับระบบไฟคนละเรื่อง ระบบไฟแบบ 110 โวลต์ (ระบบแบบทวีปอเมริกา) หรือ 220 โวลต์ (ระบบยุโรป เอเชีย และแอฟริกา) จะมีปลั๊กหน้าตาเหมือนกันก็ได้ แต่มันทำให้ไม่เหมือนกัน และความไม่เหมือนกันนี้เป็นเรื่อง “ความบังเอิญทางประวัติศาสตร์” ล้วนๆ เลย

คือในโลกนี้ มีบางประเทศที่ใช้ปลั๊กหน้าตาไม่เหมือนประเทศไหนในโลก เช่น อิตาลี บราซิล และเดนมาร์ก แต่มันก็ไม่ได้มีเหตุผลใดๆ ในเชิงกายภาพเลยที่ปลั๊กในประเทศเหล่านี้ต้องหน้าตาแบบนี้ และมันใช้แบบนี้ก็เพราะประเทศพวกนี้ “บังเอิญ” ใช้ปลั๊กหน้าตาแบบนี้ในอดีต และก็ใช้ต่อๆ มา ซึ่งก็เข้าใจได้ว่าทำไมไม่เปลี่ยน เพราะถ้าเปลี่ยนนี่ คือต้องเปลี่ยนปลั๊กทั้งประเทศ และอะไรแบบนี้ แค่นึกก็วุ่นวายแล้ว

ปลั๊กแบบอิตาลี 

ต่ถ้าถามว่าแล้วมันมีแพตเทิร์นใหญ่ๆ มั้ย ว่าในโลกนี้มีการใช้ปลั๊กแบบไหนบ้าง?

คำตอบเร็วๆ คือมี ซึ่งขอเรียกง่ายๆ ว่าระบบอเมริกากับระบบยุโรป

ระบบอเมริกา คือปลั๊กหัวแบนๆ ระบบยุโรปปลั๊กจะหัวกลมๆ ซึ่งประเทศส่วนใหญ่ของโลกจะใช้ปลั๊กกันประเทศละ 2 แบบ ก็คือแบบที่ไม่มีสายดิน กับแบบมีสายดิน หรือถ้าจะพูดเป็นรหัสปลั๊ก ประเทศที่ใช้ระบบอเมริกาจะใช้ปลั๊กแบบ A กับ B และพวกระบบยุโรปก็คือจะเป็น C กับ F

แต่ที่มันส์คือ ประเทศอีกจำนวนหนึ่งที่ใช้ทั้งระบบอเมริกาและยุโรปเลย ดังนั้นรูเสียบปลั๊กจะเสียบปลั๊กได้ขั้นต่ำคือ 4 แบบ และหนึ่งในประเทศที่ว่าคือไทย คือมีทั้งแบบ A, B, C และ F

ซึ่งที่มันส์กว่านั้นไปอีก ในไทยมีการใช้ปลั๊กแบบหนึ่งที่ไม่เหมือนที่ไหนในโลกด้วย คือปลั๊กแบบ Type O

ปลั๊กแบบ Type O | Worldstandard

ถามว่าปลั๊กแบบนี้มาได้ยังไง?

คำตอบคือมันเพิ่งเกิดมาตรฐานนี้ตอนปี 2006 ทางการไทยสร้างขึ้นมาเอง เพราะต้องการจะสร้าง “มาตรฐานของตัวเอง” หรือพูดอีกแบบก็คือ ทางการไทยนั้นต้องการจะเลิกใช้ระบบปลั๊กหัวแบนแบบอเมริกัน (คือแบบ A กับ B) แต่ในขณะเดียวกัน จะไปใช้ระบบหัวกลมแบบยุโรปแบบ C กับ F ก็ใช้ไม่ได้ เพราะระบบยุโรป “สายดิน” ไม่ได้อยู่ที่ขาที่ 3 ของปลั๊ก แต่จะอยู่ที่โลหะข้างๆ ปลั๊ก และนี่เลยเป็นเหตุผลว่ารูเสียบปลั๊กแบบยุโรปถึงต้องเป็นรูแบบ “หลุม” ที่เอาไว้เสียบตัวปลั๊กลงไปเลย ไม่ใช่อยู่บนพื้นราบแบบปลั๊กบ้านเรา

ถามว่าปลั๊กแบบนี้มาได้ยังไง?

คำตอบคือมันเพิ่งเกิดมาตรฐานนี้ตอนปี 2006 ทางการไทยสร้างขึ้นมาเอง เพราะต้องการจะสร้าง “มาตรฐานของตัวเอง” หรือพูดอีกแบบก็คือ ทางการไทยนั้นต้องการจะเลิกใช้ระบบปลั๊กหัวแบนแบบอเมริกัน (คือแบบ A กับ B) แต่ในขณะเดียวกัน จะไปใช้ระบบหัวกลมแบบยุโรปแบบ C กับ F ก็ใช้ไม่ได้ เพราะระบบยุโรป “สายดิน” ไม่ได้อยู่ที่ขาที่ 3 ของปลั๊ก แต่จะอยู่ที่โลหะข้างๆ ปลั๊ก และนี่เลยเป็นเหตุผลว่ารูเสียบปลั๊กแบบยุโรปถึงต้องเป็นรูแบบ “หลุม” ที่เอาไว้เสียบตัวปลั๊กลงไปเลย ไม่ใช่อยู่บนพื้นราบแบบปลั๊กบ้านเรา

ปลั๊กแบบยุโรป | Interpower

ทีนี้แม้ว่าปลั๊กแบบยุโรปจะเสียบในไทยได้จริงๆ แต่มันอันตรายมาก ถ้าเป็นปลั๊กแบบที่มีสายดิน เพราะโลหะส่วนที่เป็น “สายดิน” ด้านข้างปลั๊กมันโผล่มาด้านนอกตลอด และถ้าเผลอโดนก็ช็อต

ทั้งหมดนี้ เลยทำให้รัฐบาลไทยพัฒนาปลั๊กรูปแบบใหม่ที่มีสองขากลมๆ แบบยุโรป และเพิ่มขากลมๆ ที่สามมาเพื่อเป็นสายดิน แทนที่จะเป็นโลหะข้างๆ ปลั๊กแบบที่ใช้กันในยุโรป ซึ่งตรงนี้ เราก็จะเห็นได้ว่าตำแหน่งสายดินคือตำแหน่งเดียวกับของปลั๊กแบบ B หรือแบบของอเมริกาที่มีสายดิน

หรือพูดง่ายๆ ปลั๊กแบบ Type O ของไทย มันคือปลั๊กที่เราเอารูเสียบแบบยุโรป มาปนกับระบบสายดินของอเมริกา และออกมาเป็นระบบปลั๊กของเราเอง


แต่ผลจริงๆ ก็คือ แม้ว่ารัฐบาลไทยจะพยายามเปลี่ยนปลั๊กให้เป็นแบบ Type O หมด แต่เครื่องใช้ไฟฟ้าในไทยจำนวนมากก็ใช้ระบบปลั๊กแบบอื่นๆ อยู่และรูเสียบเราก็จะละทิ้งเครื่องใช้ไฟฟ้าพวกนี้ไม่ได้ และผลของการมีปลั๊ก 5 แบบในประเทศเดียว ก็เลยทำให้รูเสียบปลั๊กของไทย น่าจะมีหน้าตาไม่เหมือนที่ไหนในโลกเลย เพราะต้องเสียบปลั๊กได้ทั้ง 5 แบบ

รูเสียบปลั๊กในไทย

รูเสียบปลั๊กในไทย 

ซึ่งถ้าสงสัยว่ามีที่ไหนที่มีปลั๊กเยอะแบบไทยบ้าง อย่างน้อยๆ คือเลบานอน มี 5 แบบเหมือนกัน (A, B, C, D และ G)

และจริงๆ ในโลกนี้มีแค่ประเทศเดียวที่รูปแบบปลั๊กเยอะกว่าไทย ซึ่งก็คือมัลดีฟส์ (C, D, G, J, K และ L)

โดยทั้งสองประเทศนี้ รูปเสียบปลั๊กเขาก็ไม่ได้หน้าตาเหมือนเราอยู่ดี




Share:

Blog Archive

Total Pageviews

Facebook FANPAGE