วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
Digital Door Lock [Yale]
Digital Door Lock
YDM7116A-S 5-in-One Digital Fingerprint Lock
สามารถเข้าออกได้ 5 แบบ คือ สแกนลายนิ้วมือ รหัส การ์ด กุญแจสำรอง และบลูทูธ (ผ่าน Yale Home แอปพลิเคชัน)
• บันทึกลายนิ้วมือ : สูงสุด 100 ลายนิ้วมือ
• ตัวเลขตั้งรหัส : 4-10 หลัก
• บัตรเข้า-ออก (Key Card) บันทึกผู้ใช้สูงสุด 100 ใบ
• เชื่อมต่อด้วย : Bluetooth
• กุญแจสำรอง : 2 ดอก
คุณสมบัติ
• การเข้า-ออก : YDM7116A-S สามารถเข้าออกได้ 5 แบบ คือ สแกนลายนิ้วมือ รหัส การ์ด กุญแจสำรอง และบลูทูธ(ผ่าน Yale Home แอปพลิเคชัน)
• สแกนลายนิ้วมือ : สะดวก แม่นยำ ในการสแกนลายนิ้วมือด้วยระบบ Easy Scan
• ระบบรหัสหลอก : เพื่อป้องกันผู้อื่นล่วงรู้รหัสจริงโดยการใส่รหัสหลอกไว้ก่อน หรือหลังรหัสจริง
• กุญแจสำรอง (2 ดอก) : หากเกิดเหตุฉุกเฉินสามารถใช้กุญแจสำรองเปิดได้ทันที
• Bluetooth - โดย Yale Home app : สามารถเปิด-ปิดประตูได้ด้วยมือถือสมาร์ทโฟนผ่าน application Yale Home app โดยใช้สัญญาณ Bluetooth (ต้องติดตั้ง Bluetooth module เพิ่มเติม)
• รองรับ WiFi - ผ่าน Yale Bridge (อุปกรณ์เสริม) : ตรวจสอบสถานะการเข้า-ออกประตูได้ทุกที่โดยติดตั้ง Yale Bridge เพิ่มเติม ทำงานบน 2.4Ghz WiFi bandwidth
• โหมดการใช้งานแบบ Normal / โหมดการใช้งานแบบ Master mode : สำหรับ YDM7116A-S ในการใช้งานโหมด Master สามารถลงทะเบียนหรือลบรหัสลับเป็นรายบุคคลได้ ในขณะที่ โหมดแบบ Normal สามารถลบภายในครั้งเดียว
• ระบบเสียงแนะนำวิธีการใช้งาน : ระบบเสียงแนะนำวิธีการใช้งานช่วยให้การลงทะเบียนต่าง ๆ สะดวกสบายยิ่งขึ้น
• ระบบแจ้งสถานะการทำงาน : ระบบแจ้งสถานะการทำงานบนหน้าจอผ่านตัวเลข เมื่อมีการดำเนินการใด ๆ บนหน้าจอ
• โหมด Forced Lock : เป็นฟังก์ชันที่เสริมความปลอดภัย หาก Force lock แล้ว รหัส การ์ด ไม่สามารถใช้งานได้
• โหมดล็อกอัตโนมัติ : สะดวกสบายด้วยระบบล็อกประตูอัตโนมัติ เมื่อปิดประตู
• สัญญาณเตือนเมื่อแบตเตอรี่อ่อนและโหมดการใช้งานฉุกเฉิน : สัญญาณเตือนเมื่อแบตเตอรี่อ่อนจะปรากฎที่หน้าจอ หากแบตเตอรี่หมดสามารถใช้แบตเตอรี่แบบอัลคาไลน์ 9V ชาร์ตไปที่แหล่งพลังงานฉุกเฉินด้านหน้าได้ทันที
สัญญาณเตือนภัย (งัดแงะ / ถูกทำลาย) : สัญญาณเตือนภัยความดัง 80 dB จะดังขึ้นเมื่อมีการงัดแงะ หรือทำลายตัวสินค้า
วันอังคารที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2567
"หุน" คืออะไร...???
"หุน" มาจากชื่อมาตรา วัด ตวง ชั่ง ของจีนโบราณ
วันศุกร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2566
การต่อลงดินของระบบไฟฟ้า มีกี่แบบ
อักษรตำแหน่งที่ 1 แสดงความสัมพันธ์ ของระบบจ่ายไฟฟ้า กับการต่อลงดิน ดังนี้
T หมายถึง การต่อระบบไฟฟ้า หรือส่วนที่มีไฟ ต่อลงดินโดยตรง
I หมายถึง การต่อระบบไฟฟ้า หรือส่วนที่มีไฟ แยกจากดินโดยตรง หรือต่อลงดินผ่านตัวความต้านทาน หรือ อิมพีแดนซ์ (Impedance)
อักษรตำแหน่งที่ 2 แสดงความสัมพันธ์ ของตัวนำที่ปกติไม่มีไฟ หรือที่เรียกว่าตัวนำที่เปิดโล่ง เช่น โครงสร้างที่เป็นเหล็กของอุปกรณ์ไฟฟ้า กับการต่อลงดิน ดังนี้
T หมายถึง การต่อลงดินโดยตรงของโครงสร้างที่เป็นเหล็กของอุปกรณ์ไฟฟ้า และหลักดินแยกต่างหากจากหลักดินของระบบไฟฟ้า
N หมายถึง การต่อลงดินของโครงสร้างที่เป็นเหล็กของอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยต่อรวมกับหลักดินของระบบไฟฟ้า
ตั้งแต่ตู้ประธานหลัก สายนิวทรัล และสายดิน จะแยกตัวนำกันตลอดทั้งระบบ แต่จะมีการต่อถึงกันที่ บัสบาร์ นิวทรัล (N) และ กราวด์ (G) ที่ตู้ประธานของระบบ (MDB)
วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2566
Windows Utilities
Change the Windows interface to make your computer more modern, beautiful and fully functional.
It's very easy and free, Doesn't waste your RAM or CPUวันจันทร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2566
ปลั๊กไฟของไทย หน้าตาไม่เหมือนชาติใดในโลก
รู้ไหม ปลั๊กไฟของไทย หน้าตาไม่เหมือนชาติใดในโลก
ในสมัยโน้นว่ากันว่าโลกยุคโลกาภิวัตน์จะทำให้ทุกอย่างเหมือนกันหมดเป็นมาตรฐานเดียวทั้งโลก ซึ่งมองในบางแง่ก็ไม่จริง เพราะทุกวันนี้ ถึงทั่วโลกจะบริโภคสื่อหน้าตาคล้ายๆ กัน แต่วัฒนธรรมต่างๆ ก็ยังมีความแตกต่างกันในท้องถิ่น เรียกได้ว่าเป็นสิ่งใหม่ที่เข้าไปประสานกับสิ่งเก่า แล้วออกมาไม่ได้มีมาตรฐานเดียว
นี่เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ เพราะทุกที่มี “รากฐาน” ที่ต่างกัน และรากฐานนั้นก็มาจากวัฒนธรรมที่สืบเนื่องมาเป็นร้อยเป็นพันปีไม่รู้กี่ชั่วคน
แต่จริงๆ แล้ว บางสิ่งที่ต่างกันในโลกที่จริงๆ ไม่ได้เก่าแก่อะไรเลย และก็ไม่มีความจำเป็นต้องต่างกันก็ได้ มันก็ยังต่างกัน และวันนี้เราจะมาพูดถึง “ปลั๊กไฟ”
หลายคนอาจไม่รู้ แต่จริงๆ แล้ว โลกนี้มีรูปแบบปลั๊กไฟถึง 15 แบบด้วยกัน
ถามว่าทำไมต่างกัน บางคนก็จะบอกว่าเป็นเพราะ “ระบบไฟ” ต่างกัน จริงๆ แล้วไม่ใช่ คือปลั๊กกับระบบไฟคนละเรื่อง ระบบไฟแบบ 110 โวลต์ (ระบบแบบทวีปอเมริกา) หรือ 220 โวลต์ (ระบบยุโรป เอเชีย และแอฟริกา) จะมีปลั๊กหน้าตาเหมือนกันก็ได้ แต่มันทำให้ไม่เหมือนกัน และความไม่เหมือนกันนี้เป็นเรื่อง “ความบังเอิญทางประวัติศาสตร์” ล้วนๆ เลย
คือในโลกนี้ มีบางประเทศที่ใช้ปลั๊กหน้าตาไม่เหมือนประเทศไหนในโลก เช่น อิตาลี บราซิล และเดนมาร์ก แต่มันก็ไม่ได้มีเหตุผลใดๆ ในเชิงกายภาพเลยที่ปลั๊กในประเทศเหล่านี้ต้องหน้าตาแบบนี้ และมันใช้แบบนี้ก็เพราะประเทศพวกนี้ “บังเอิญ” ใช้ปลั๊กหน้าตาแบบนี้ในอดีต และก็ใช้ต่อๆ มา ซึ่งก็เข้าใจได้ว่าทำไมไม่เปลี่ยน เพราะถ้าเปลี่ยนนี่ คือต้องเปลี่ยนปลั๊กทั้งประเทศ และอะไรแบบนี้ แค่นึกก็วุ่นวายแล้ว
ต่ถ้าถามว่าแล้วมันมีแพตเทิร์นใหญ่ๆ มั้ย ว่าในโลกนี้มีการใช้ปลั๊กแบบไหนบ้าง?
คำตอบเร็วๆ คือมี ซึ่งขอเรียกง่ายๆ ว่าระบบอเมริกากับระบบยุโรป
ระบบอเมริกา คือปลั๊กหัวแบนๆ ระบบยุโรปปลั๊กจะหัวกลมๆ ซึ่งประเทศส่วนใหญ่ของโลกจะใช้ปลั๊กกันประเทศละ 2 แบบ ก็คือแบบที่ไม่มีสายดิน กับแบบมีสายดิน หรือถ้าจะพูดเป็นรหัสปลั๊ก ประเทศที่ใช้ระบบอเมริกาจะใช้ปลั๊กแบบ A กับ B และพวกระบบยุโรปก็คือจะเป็น C กับ F
แต่ที่มันส์คือ ประเทศอีกจำนวนหนึ่งที่ใช้ทั้งระบบอเมริกาและยุโรปเลย ดังนั้นรูเสียบปลั๊กจะเสียบปลั๊กได้ขั้นต่ำคือ 4 แบบ และหนึ่งในประเทศที่ว่าคือไทย คือมีทั้งแบบ A, B, C และ F
ซึ่งที่มันส์กว่านั้นไปอีก ในไทยมีการใช้ปลั๊กแบบหนึ่งที่ไม่เหมือนที่ไหนในโลกด้วย คือปลั๊กแบบ Type O
ถามว่าปลั๊กแบบนี้มาได้ยังไง?
คำตอบคือมันเพิ่งเกิดมาตรฐานนี้ตอนปี 2006 ทางการไทยสร้างขึ้นมาเอง เพราะต้องการจะสร้าง “มาตรฐานของตัวเอง” หรือพูดอีกแบบก็คือ ทางการไทยนั้นต้องการจะเลิกใช้ระบบปลั๊กหัวแบนแบบอเมริกัน (คือแบบ A กับ B) แต่ในขณะเดียวกัน จะไปใช้ระบบหัวกลมแบบยุโรปแบบ C กับ F ก็ใช้ไม่ได้ เพราะระบบยุโรป “สายดิน” ไม่ได้อยู่ที่ขาที่ 3 ของปลั๊ก แต่จะอยู่ที่โลหะข้างๆ ปลั๊ก และนี่เลยเป็นเหตุผลว่ารูเสียบปลั๊กแบบยุโรปถึงต้องเป็นรูแบบ “หลุม” ที่เอาไว้เสียบตัวปลั๊กลงไปเลย ไม่ใช่อยู่บนพื้นราบแบบปลั๊กบ้านเรา
ถามว่าปลั๊กแบบนี้มาได้ยังไง?
คำตอบคือมันเพิ่งเกิดมาตรฐานนี้ตอนปี 2006 ทางการไทยสร้างขึ้นมาเอง เพราะต้องการจะสร้าง “มาตรฐานของตัวเอง” หรือพูดอีกแบบก็คือ ทางการไทยนั้นต้องการจะเลิกใช้ระบบปลั๊กหัวแบนแบบอเมริกัน (คือแบบ A กับ B) แต่ในขณะเดียวกัน จะไปใช้ระบบหัวกลมแบบยุโรปแบบ C กับ F ก็ใช้ไม่ได้ เพราะระบบยุโรป “สายดิน” ไม่ได้อยู่ที่ขาที่ 3 ของปลั๊ก แต่จะอยู่ที่โลหะข้างๆ ปลั๊ก และนี่เลยเป็นเหตุผลว่ารูเสียบปลั๊กแบบยุโรปถึงต้องเป็นรูแบบ “หลุม” ที่เอาไว้เสียบตัวปลั๊กลงไปเลย ไม่ใช่อยู่บนพื้นราบแบบปลั๊กบ้านเรา
ปลั๊กแบบยุโรป | Interpower
ทีนี้แม้ว่าปลั๊กแบบยุโรปจะเสียบในไทยได้จริงๆ แต่มันอันตรายมาก ถ้าเป็นปลั๊กแบบที่มีสายดิน เพราะโลหะส่วนที่เป็น “สายดิน” ด้านข้างปลั๊กมันโผล่มาด้านนอกตลอด และถ้าเผลอโดนก็ช็อต
ทั้งหมดนี้ เลยทำให้รัฐบาลไทยพัฒนาปลั๊กรูปแบบใหม่ที่มีสองขากลมๆ แบบยุโรป และเพิ่มขากลมๆ ที่สามมาเพื่อเป็นสายดิน แทนที่จะเป็นโลหะข้างๆ ปลั๊กแบบที่ใช้กันในยุโรป ซึ่งตรงนี้ เราก็จะเห็นได้ว่าตำแหน่งสายดินคือตำแหน่งเดียวกับของปลั๊กแบบ B หรือแบบของอเมริกาที่มีสายดิน
หรือพูดง่ายๆ ปลั๊กแบบ Type O ของไทย มันคือปลั๊กที่เราเอารูเสียบแบบยุโรป มาปนกับระบบสายดินของอเมริกา และออกมาเป็นระบบปลั๊กของเราเอง
แต่ผลจริงๆ ก็คือ แม้ว่ารัฐบาลไทยจะพยายามเปลี่ยนปลั๊กให้เป็นแบบ Type O หมด แต่เครื่องใช้ไฟฟ้าในไทยจำนวนมากก็ใช้ระบบปลั๊กแบบอื่นๆ อยู่และรูเสียบเราก็จะละทิ้งเครื่องใช้ไฟฟ้าพวกนี้ไม่ได้ และผลของการมีปลั๊ก 5 แบบในประเทศเดียว ก็เลยทำให้รูเสียบปลั๊กของไทย น่าจะมีหน้าตาไม่เหมือนที่ไหนในโลกเลย เพราะต้องเสียบปลั๊กได้ทั้ง 5 แบบ
ซึ่งถ้าสงสัยว่ามีที่ไหนที่มีปลั๊กเยอะแบบไทยบ้าง อย่างน้อยๆ คือเลบานอน มี 5 แบบเหมือนกัน (A, B, C, D และ G)
และจริงๆ ในโลกนี้มีแค่ประเทศเดียวที่รูปแบบปลั๊กเยอะกว่าไทย ซึ่งก็คือมัลดีฟส์ (C, D, G, J, K และ L)
โดยทั้งสองประเทศนี้ รูปเสียบปลั๊กเขาก็ไม่ได้หน้าตาเหมือนเราอยู่ดี
วันอังคารที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2566
หัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า มีกี่แบบ กี่ประเภท ? และชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าด้วยไฟ AC และ DC ต่างกันอย่างไร ?
หัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า มีกี่แบบ กี่ประเภท ?
และชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าด้วยไฟ AC และ DC ต่างกันอย่างไร ?
ปัจจัยหนึ่งที่คุณควรทราบไว้ก่อนเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้า ที่นอกเหนือจากมีเรื่องของค่าใช้จ่าย, การดูแลรักษา และการรองรับสถานีชาร์จที่เพียงพอ สิ่งหนึ่งก็คือเรื่อง ประเภทของหัวชาร์จ
ปัจจุบัน ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละเจ้า มีการใช้หัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแตกต่างกันไป ยกตัวอย่าง Tesla ก็ใช้เป็นหัวชาร์จที่ออกแบบเอง ชื่อ "SuperCharger" เพื่อใช้กับรถยนต์ Tesla อยู่ หากเทียบกับสินค้าประเภท แกดเจ็ต (Gadget) ต่าง ๆ มันก็เหมือนการใช้หัวชาร์จที่ต่างกันไป เช่น USB-C, USB-A, Micro USB หรือ Lightning นั่นเอง
โดยบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับหัวชาร์จแต่ละประเภทของรถยนต์พลังงานไฟฟ้ากัน ว่ามันมีกี่แบบ และคุณควรใช้อย่างไรให้ไม่ผิดประเภท
การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ไฟแบบ AC และ DC
(AC and DC Charging Types on EV Car)
ก่อนทำความรู้จักกับประเภทของหัวชาร์จ เรามารู้จักกับระบบชาร์จไฟผ่านกระแสไฟฟ้า 2 ประเภทหลัก ๆ กันก่อน นั่นคือ การชาร์จผ่าน ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) และ ไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ซึ่งในรถ EV ทั่วไป จะมีการให้หัวชาร์จมา 2 ประเภท เรามาศึกษาข้อแตกต่างและความเหมาะสมในการใช้งานกัน
ความแตกต่างระหว่างการชาร์จแบบ AC และ DC
การชาร์จแบบ AC นั้นเรียกกันว่า Normal Charge มีข้อดีเรื่องของค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า แต่ก็สามารถชาร์จได้ค่อนข้างช้าเนื่องจากการรองรับกำลังไฟที่จำกัด เพราะกระแสมีการไหลผ่านหม้อแปลงที่เรียกว่า "Onboard Charger" เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เปลี่ยนกำลังไฟจาก AC ให้เป็นพลังงาน DC เข้าสู่แบตเตอรี่ของรถ โดยขนาดของ "Onboard Charger" จะต่างไปตามรุ่นของรถ และค่อนข้างมีผลกระทบต่อความเร็วในการชาร์จด้วย รวมถึงยังมีปัจจัยด้านประสิทธิภาพของเครื่องจ่ายไฟ หรือหัวชาร์จแต่ละประเภท ทำให้การชาร์จผ่าน AC นั้นอาจมีกำลังไฟที่รองรับได้เพียงแค่ 3 - 43 kWH
สำหรับการชาร์จแบบ DC เรียกว่า Quick Charger มีข้อดีคือ สามารถชาร์จไฟได้อย่างรวดเร็ว รองรับกำลังไฟได้มากกว่า เนื่องจากเป็นการจ่ายไฟตรง ๆ ไปที่แบตเตอรี่ของตัวรถ ในทั่ว ๆ ไปแล้วกำลังไฟของระบบ DC ที่รองรับ นั้นสามารถอยู่ที่ 25 ถึง 350 kW เลยทีเดียวขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของระบบไฟฟ้าในรถและเครื่องชาร์จ เแต่ข้อเสียก็คือมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า AC
ถ้าเปรียบเทียบกับรถยนต์ไฟฟ้าที่มีขนาดแบตเตอรี่ 72 kW ถ้าชาร์จแบบ AC ที่มีกำลังไฟรองรับ 7 kW คุณอาจต้องใช้เวลาถึง 10 ชั่วโมง ในขณะที่พอเป็นแบบ DC มีกำลังไฟรองรับ 50 kW อาจใช้เวลาเพียงแค่ 1 ชั่วโมงกว่าเท่านั้น ในการชาร์จให้เต็ม
การเลือกใช้ให้เหมาะสม
เนื่องจาก AC ชาร์จไฟได้ช้ากว่าจึงนิยมใช้ติดตั้งที่บ้าน ออฟฟิศทำงาน หรือ ที่สาธารณะอย่างห้างสรรพสินค้า ที่คุณสามารถ มีเวลาทำธุระ หรือ รอการชาร์จไฟได้ นอกจากนี้ตามสถานีชาร์จสาธารณะทั่วไปก็มีระบบการชาร์จแบบ AC ให้เหมือนกันซึ่งความเร็วจะมากกว่า เครื่องชาร์จแบบติดตั้งในบ้าน
ส่วนการชาร์จแบบ DC มักนิยมติดตั้งตาม สถานีชาร์จสาธารณะทั่วไป เช่น ปั้มน้ำมัน หรือ จุดพักรถบนทางด่วน เพราะไม่ต้องใช้เวลามากนั่นเอง ให้เจ้าของรถแวะพักชาร์จไฟ ไม่ถึง 30 นาทีก็เดินทางต่อได้แล้ว
หากถามว่า แท่นชาร์จแบบ DC สามารถติดตั้งภายในบ้านได้ไหม คำตอบคือ "ไม่ได้" เหตุผลคือ เนื่องจากระบบไฟฟ้าตามบ้านทั่วไปเป็นระบบไฟแบบ "Single Phase" ที่มีแรงดันแค่ 220 โวลต์ ขณะที่เครื่องชาร์จไฟฟ้าแบบ DC ต้องการระบบไฟฟ้าแบบ "Three Phase" หรือระบบไฟฟ้าสำหรับโรงงาน ทำให้ปัจจุบันไม่มีแท่นชาร์จแบบ DC มาวางขายเป็นทางการ
แต่บ้านเราสามารถขอไฟเพิ่มเป็น "Three Phase" ได้ เช่นบ้านที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งในอนาคตไม่แน่ผู้ผลิตอาจมีการพัฒนาแท่นชาร์จแบบ DC มาวางขายให้ใช้ตามบ้านก็เป็นได้
หัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า มีกี่ประเภท ?
(How many types of EV Car Charing Plugs ?)
ภาพจาก https://www.ovoenergy.com/guides/electric-cars/ev-charging-types
เรารู้แล้วว่าการชาร์จแบบ AC และ DC ต่างกันอย่างไร ต่อไปดูเรื่องของหัวชาร์จแต่ละประเภทกันบ้าง ในปัจจุบันเราสามารถแยกประเภทหัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าหลัก ๆ ได้ 4 ประเภทที่พบได้ทั่วไป ทั้งต่างประเทศและประเทศไทย แบ่งเป็น
- หัวชาร์จ SAE J1772 (AC Type 1)
- หัวชาร์จ Mennekes (AC Type 2)
- หัวชาร์จ CCS (DC Type)
- หัวชาร์จ CHAdeMO (DC Type)
นอกจากนี้ก็ยังมีหัวชาร์จของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่นิยมพบได้จากจีนคือ GB / T รวมถึงหัวชาร์จของ Tesla ซึ่งเราจะมาทำความรู้จักแต่ละตัวกันไปพร้อมกัน
1. หัวชาร์จ SAE J1772 (AC Type 1)
ภาพจาก https://www.evexpert.eu/eshop1/knowledge-center/connector-types-for-ev-charging-around-the-world
SAE J1772 หรือเรียกง่าย ๆ ว่า AC Type 1 เป็นหัวชาร์จของระบบ AC ที่ถูกสร้างเป็นมาตรฐานสำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้าของ อเมริกา ญี่ปุ่น
หัวชาร์จประเภทนี้ เป็นหัวชาร์จที่มีลักษณะเป็นหัวต่อแบบ 5 พิน (Pins) รองรับกำลังไฟฟ้าได้สูงสุด 7.2 kW และรองรับแค่ระบบไฟ "Single Phase" จึงนิยมใช้ติดตั้งในบ้านมากกว่า เราอาจจะไม่ค่อยได้เห็นหัวชาร์จประเภทนี้ตามที่สาธารณะ โดยรถยนต์ไฟฟ้ายี่ห้อที่ใช้หัวชาร์จแบบ SAE J1772 ที่เรารู้จัก เช่น Nissan, Toyota และ Mitsubishi เป็นต้น
2. หัวชาร์จ Mennekes (AC Type 2)
ภาพจาก https://www.evexpert.eu/eshop1/knowledge-center/connector-types-for-ev-charging-around-the-world
Mennekes หรือเรียกว่า AC Type 2 เป็นหัวชาร์จของระบบ AC ที่เป็นมาตรฐานของ ยุโรป มีลักษณะเป็นหัวต่อแบบ 7 พิน (Pins) จ่ายไฟได้เทียบเท่ากับ AC Type 1 แต่เมื่อมีการพัฒนาเครื่องจ่ายไฟ ให้สามารถจ่ายไฟ AC แบบ Three phase ได้ สถานีชาร์จสาธารณะในปัจจุบัน จึงรองรับกำลังไฟเพิ่มได้ถึง 22 kW ในขณะที่เครื่องชาร์จสาธารณะบางแห่งในยุโรปอาจรองรับกำลังไฟได้ถึง 43 kW เลยทีเดียว
รถยนต์พลังงานไฟฟ้ายี่ห้อที่ใช้หัวชาร์จแบบ Mennekes (AC Type 2) มักจะพบได้ใน Audi, BMW และ Mercedes รวมถึงรถยนต์ไฟฟ้า BEV (Battery Electric Vehicle) และ รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดปลั๊กอิน (PHEV, Plug-in Hybrid Electric Vehicle) ทั่วไปของฝั่งยุโรป
3. หัวชาร์จ CCS (DC Type)
|
|
ภาพจาก https://www.ovoenergy.com/guides/electric-cars/ev-charging-types
สำหรับ CCS ย่อมาจาก Combination Charging System ชื่อนี้มีที่มา เพราะหัวต่อมีลักษณะเด่น คือ หน้าตาของหัวชาร์จที่ถูกคอมโบกับหัวชาร์จ AC มีการเพิ่มหัวต่อมาอีก 2 พิน (Pins) ด้านใต้เหมือนในภาพ เพื่อให้รองรับการชาร์จแบบ DC ไปในตัว
และเวลาใช้งาน ช่องชาร์จในรถจะมีเต้ารับเพียงอันเดียวที่สามารถชาร์จได้ 2 ประเภท มีกำลังไฟรองรับได้สูงถึง 350kW ส่วนความเร็วจริง ๆ ในการชาร์จจะขึ้นอยู่กับความสามารถของรถและกำลังไฟเครื่องชาร์จ (ตู้ชาร์จในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 50 - 120 kW)
หัวชาร์จแบบ CCS ยังสามารถแบ่งได้เป็น 2 Type คือ
- CCS1 (Type 1) เป็นมาตรฐานของอเมริกาและเป็นหัวชาร์จที่คอมโบกับ AC Type 1
- CCS2 (Type 2) เป็นมาตรฐานของฝั่งยุโรปและเป็นหัวชาร์จที่คอมโบกับ AC Type 2
หัวชาร์จ CCS2 มีการรองรับกำลังไฟที่มากกว่า และได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในภายหลัง พบได้ในรถยี่ห้อ Audi, BMW, Hyundai, Jaguar, Mercedes-Benz และ MG เป็นต้น ในขณะที่ CCS1 เหมือนจะหายไปเนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้มาตรฐานหัวชาร์จแบบ AC Type 1 ส่วนมากจะมีการใช้ "หัวชาร์จ CHAdeMO" สำหรับการชาร์จแบบ DC แทน CCS1
Socket ชาร์จไฟของรถยนต์ไฟฟ้า Audi e-tron / ภาพจาก https://www.audi-mediacenter.com/en/audi-technology-lexicon-7180/charging-technologies-10999
4. หัวชาร์จ CHAdeMO (DC Type)
ภาพจาก https://www.evexpert.eu/eshop1/knowledge-center/connector-types-for-ev-charging-around-the-world
CHAdeMO ย่อมาจากคำว่า Charge de Move แปลว่า "ชาร์จแล้วขับต่อไป" พัฒนาขึ้นเป็นมาตรฐานหัวชาร์จ DC ของฝั่งญี่ปุ่น ที่รองรับกำลังไฟได้สูงถึง 400 kW ในรุ่น 2 ที่ปล่อยออกมาล่าสุด และในอนาคตมีเป้าหมายจะทำงานร่วมกับมาตรฐาน GB / T เพื่อทำให้รองรับถึง 900 kW เลยทีเดียว
หัวชาร์จ CHAdeMO มักพบได้ในรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ยี่ห้อ Honda, Mazda, Nissan, Mitsubishi, Toyota เป็นต้น และอย่างที่บอกไว้รุ่นที่ใช้หัวชาร์จ CHAdeMO มักจะมาพร้อมกับช่อง AC Type 1 ดังนั้นรถยนต์ไฟฟ้ายี่ห้อเหล่านี้ ก็จะมีช่องชาร์จมาให้ 2 ช่องคู่กัน
Socket ชาร์จไฟของรถยนต์ไฟฟ้า NISSAN LEAF / ภาพจาก https://www.nissan.co.th/vehicles/new-vehicles/leaf
5. หัวชาร์จ GB / T (AC และ DC Type)
หัวชาร์จแบบ GB / T เป็นมาตรฐานเดียวของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในประเทศจีน พัฒนาโดยกลุ่ม Guobiao Standardization Commission ที่กำกับดูแลโดย Standardization Administration of China หรือ คณะกรรมการบริหารจัดการมาตรฐานแห่งชาติจีน
AC Type
ภาพจาก https://www.evexpert.eu/eshop1/knowledge-center/connector-types-for-ev-charging-around-the-world
ปัจจุบันมาตรฐานหัวชาร์จ GB / T ถูกใช้เป็นทั้งหัวชาร์จแบบ AC และ DC ลักษณะของหัวชาร์จ AC จะมีความคล้ายกับ AC Type 2 แต่ภายในใช้ระบบไม่เหมือนกัน จึงไม่สามารถใช้แทนกันได้ และหัวชาร์จ AC สามารถรองรับกำลังไฟได้สูงสุด 27 kW
DC Type
ภาพจาก https://www.evexpert.eu/eshop1/knowledge-center/connector-types-for-ev-charging-around-the-world
ส่วนหัวชาร์จแบบ GB / T แบบ DC จะมีลักษณะเด่นเป็นของตัวเองและรองรับกำลังไฟได้สูงสุด 250 kW ซึ่งปัจจุบัน GB / T กำลังจับมือร่วมกับ CHAdeMO เพื่อพัฒนาหัวชาร์จที่สามารถรองรับกำลังไฟได้ถึง 900 kW เหมือนกัน
6. หัวชาร์จ Tesla
ภาพจาก https://www.evexpert.eu/eshop1/knowledge-center/connector-types-for-ev-charging-around-the-world
สำหรับหัวชาร์จของ Tesla มีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากหัวชาร์จประเภทอื่น และต้องใช้กับสถานีชาร์จ Supercharger หรือ สถานีจุดบริการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าของ Tesla เท่านั้น
อย่างไรก็ตามจุดเด่นของ Tesla ก็คือหัวชาร์จของเขาใช้งานได้กับปลั๊กอื่น ๆ ถ้ามีอะแดปเตอร์ และ Tesla จะมีอะไหล่ขายแยกให้บนเว็บไซต์ คุณสามารถหาซื้อเพื่อชาร์จกับหัวชาร์จแบบ CHAdeMO หรือ CCS ได้ถ้าหาสถานี Supercharger เจอได้ยาก
เลือกประเภท และสมรรถนะที่ใช่สำหรับตัวเอง
(Choose the right EV Car Charger for you)
ดูไปแล้วนอกจากสมรรถนะของตัวรถ ไปจนถึงความจุของพลังงานแบตเตอรี่แล้ว ประเภทของหัวชาร์จที่รองรับในรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละรุ่น ก็เป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้อเหมือนกันนะ
สมมติว่าคุณมีบ้านที่พร้อมจะติดตั้งระบบชาร์จไฟให้รถ คุณก็ต้องเลือกดูว่ารุ่นไหนมีหัวชาร์จแบบ AC ประเภทไหน หรือถ้าคุณไม่ได้อาศัยอยู่บ้าน แต่เป็นคอนโด ก็ควรเน้นไปที่ระบบชาร์จไฟ DC ไปเลย รวมถึงต้องดูเรื่องของปริมาณหัวชาร์จที่รองรับมากในประเทศด้วย เกิดตั้งใจจะไปชาร์จไฟที่หนึ่งแล้วแต่ดันไม่เจอประเภทที่ต้องการ ก็อาจจะเสียเที่ยวได้
วันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2566
ขุดเพชรอย่าท้อแท้ ขุดต่อไปเดี๋ยวก็ถึง ... จริงหรอ?
หากใครเล่นเนตมาเป็นเวลานานแล้ว (เชื่อว่าทุกคนป่ะ) ภาพนี้คงเคยผ่านตาทุกคนมาแล้ว ...
เป็นภาพที่บอกว่า "คุณไม่รู้หรอกว่าคุณอยู่ใกล้ความสำเร็จแค่ไหน ดังนั้นอย่ายอมแพ้ !"
แต่วันนี้หลังจากผ่านประสบการณ์ชีวิตมามากมาย ก็เลยสามารถหาคำอธิบายภาพนี้แล้วว่ามันผิดอย่างไร ข้อสรุปทุกอย่างมันตอบตัวเองตั้งแต่ประโยคแรกแล้ว
"คุณไม่รู้หรอกว่าคุณอยู่ใกล้ความสำเร็จแค่ไหน"
ใช่ครับ คุณไม่รู้ ดังนั้นการตัดสินใจดั้งด้นดื้อรั้นดันทุรังขุดเพชรต่อไป มันไม่ใช่วิธีที่ถูกเลย เพราะภาพนี้มันสปอยล์ว่ามีเพชรอยู่ใกล้มากแล้ว จากสายตาใครก็ไม่รู้ ... ดูแล้วไม่เป็นซุปเปอร์แมนก็พระเจ้าหละ แต่ความจริงสิ่งที่คุณเห็นจากสายตาคนขุดเพชรคือภาพนี้ครับ ...
หรือถ้าเลวร้ายกว่าการไม่เจออะไร อาจจะขุดไปจนพบเจอสิ่งที่คุณไม่อยากเจอก็เป็นได้ คำอธิบายของภาพพลิกกลับในทันทีว่า "ใครเลิกขุดก่อน คนนั้นชนะ"
โจทย์นี้ไม่ใช่ว่าใครเลิกขุดก่อน หรือใครจะขุดเจอเพชรก่อน หากแต่ปัญหาที่แท้จริงของของโจทย์นี้คือ
"เรามองไม่เห็นหนทางข้างหน้า
จะทำยังไงให้มองเห็น
เพื่อจะรู้ว่าขุดต่อดีมั้ย"
หรือภาษาอังกฤษก็คือคำสั้นๆที่ทุกคนได้ยินกันปีละ 200 ครั้ง ...
"... Vision ..."
Vision อันแสนวิเศษ จะทำให้คุณมีสายตาเลเซอร์ สามารถมองเห็นหนทางข้างหน้าถึงแม้จะมีสิ่งกีดขวางบดบัง และมันทำให้คุณบอกได้ว่าหนทางข้างหน้าคุณมีเพชรอยู่หรือไม่ หากเห็นว่ามีเพชรและคุ้มค่าในการขุด จากนั้นค่อยเริ่มดำเนินการขุดต่อจนได้เพชรออกมา จุดนี้การขุดคือคำสั้นๆที่เรียกว่า
"...Mission..."
Mission ที่ไร้ Vision คือหายนะ หายนะอย่างไร ภาพด้านบนอธิบายได้ดีที่สุดแล้วครับ ส่วนการมี Vision แต่ไร้ Mission มันก็ไร้ค่าเช่นกัน อย่างที่เคยได้ยินกันบ่อยๆกระมังว่า "Great idea without execution is cheap"
อย่างไรก็ตาม Vision มันไม่ง่าย มันคือการคาดคะเน ความจริงของ Vision คือ ไม่มีใครรู้ว่า Vision คุณถูกหรือเปล่าจนกระทั่งคุณขุดเจอเพชรแล้ว ไม่ต้องอวดหรอกว่า Vision คุณเท่คุณเจ๋ง ถ้ายังไม่เจอเพชร ก็กลับไปเอาเพชรมาพิสูจน์ให้ได้ก่อน !
จึงไม่ต้องแปลกใจหากขุดไปได้ระยะหนึ่ง กลับรู้สึกท้อแท้ รู้สึกสิ้นหวัง ทำไมไม่เจอเพชรสักทีนะ เมื่อมาถึงจุดที่คุณเริ่มสงสัยว่าคุณมาถูกทางหรือเปล่า มานั่ง Revision ความคิดตัวเองซะ ว่า Vision ที่คุณมองยังถูกอยู่หรือเปล่า หนทางข้างหน้ายังมีเพชรอยู่หรือเปล่า หรือโดนคนอีกฝั่งที่เห็นหนทางที่สั้นกว่าดีกว่าขุดเพชรเอาไปซะแล้ว จะไปต่อหรือจะเลิก ต้องคอยพิจารณาเป็นระยะๆ ไม่งั้นอาจจะเจ็บตัวหนักก็ได้
และความจริงในโลกนี้อีกข้อก็คือ เพชรยังมีอยู่อีกเยอะ หาให้เจอว่าอยู่ที่ไหน แล้วขุดซะ คนเริ่มขุดก่อนก็จะเข้าถึงได้ก่อน คนที่ถอยหลังจากเหมืองที่ไม่เหลือเพชรแล้ว เพื่อไปหาเหมืองใหม่ที่ไร้คนขุดได้ก่อน ก็จะได้โอกาสก่อนคนอื่นเขาที่จะประสบความสำเร็จในสิ่งที่หวังไว้
ทั้งหมดทั้งมวลนี้ อยู่ที่สองคำที่คุณต้อง Declare ให้ชัดเจนตั้งแต่เริ่มโปรเจค
Vision & Mission