คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล personal computer (PC) ถือเป็นอุปกรณ์สำคัญในปัจจุบัน ที่จำเป็นในการทำงานต่างๆ ท่องอินเตอร์เน็ต ค้นหาข้อมูลข่าวสาร รวมไปถึงความบันเทิงต่างๆ อย่างการเล่นเกมส์ ฟังเพลง และรับชมภาพยนตร์ แม้ว่าในปัจจุบันจะมีอุปกรณ์อื่นที่มีความสามารถใกล้เคียงกับคอมพิวเตอร์อย่างโน้ตบุ๊ค แต่คอมพิวเตอร์ เองก็มีข้อได้เปรียบในหลายด้าน ได้แก่ ราคาที่ถูกกว่าในสเปคที่เท่ากัน จัดสเปคได้ตามต้องการ มีความยืดหยุ่นในการประกอบมากกว่า หากอุปกรณ์ส่วนใดขัดข้อง เสียหาย สามารถแยกเปลี่ยนเฉพาะส่วนได้ หรือแม้แต่จะอัพเกรดเฉพาะบางส่วนก็ได้เช่นกัน
desktop pc
laptop pc
all in one pc
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)
ซีพียูเป็นหน่วยประมวลผลหลักของคอมพิวเตอร์ ถ้าเปรียบกับร่างกายคนเราก็คือสมองนั่นเอง ทำหน้าที่หลักคือการคำนวณและประมวลผลชุดคำสั่งต่างๆ ที่ได้รับมาจากอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล (Input) ผ่านทางหน่วยความจำหลัก หรือ แรม (RAM) ในปัจจุบันมีผู้ผลิต CPU รายใหญ่ในตลาดอยู่ 2 ค่าย คือ Intel และ AMD ซึ่งแต่ละค่ายก็มีการแบ่งแยกรุ่นและไลน์สินค้าที่แตกต่างกันไป อย่างของทางฝั่ง Intel หลักๆ ก็จะแบ่งเป็น Pentium, Pentium 4, Core 2 Duo, Dual-Core, Core 2 Quad, Celeron, Core i3, Core i5 และ Core i7 ส่วนทางฝั่ง AMD มีอยู่หลากหลายรุ่น อย่างเช่น K5, K6, K6-2, K6-III, K6-2+, K6-III+, K7, Athlon, Argon, Duron, Mustang, SledgeHammer และ ClawHammer เป็นต้น อย่างไรก็ตามการเลือก CPU แต่ละรุ่นจะใช้ Socket ที่แตกต่างกัน ซึ่งจะส่งผลต่อการเลือก Mainboard ด้วยเช่นกัน
หน่วยประมวลผลกราฟฟิค (Graphic Card)
หรือที่นิยมเรียกกันว่า การ์ดจอ ที่ทำหน้าที่ในการประมวลผลภาพเป็นหลัก อย่างไรก็ตามโดยทั่วไป Mainboard จะมีการ์ดจอมาให้ในตัว เรียกว่า On Board รวมไปถึง CPU รุ่นใหม่ๆ จะมี GPU หรือหน่วยประมวลผลกราฟฟิกมาให้ในตัวด้วยเช่นเดียวกัน ทำให้ผู้ที่ต้องการใช้งานทั่วไป ไม่จำเป็นต้องซื้อ Graphic Card หรือ การ์ดจอแยกเพิ่ม
แผงวงจรหลัก (Mainboard)
Mainboard เป็นแผงวงจรหลักที่เป็นเหมือนศูนย์กลางของการเชื่อมต่อฮาร์ดแวร์ ทำหน้าที่ประสานการทำงานของฮาร์ดแวร์ที่เชื่อมต่ออยู่ ซึ่งการรองรับการเชื่อมต่ออยู่หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับการใช้งาน ทั้งนี้การเลือก Mainboard ควรคำนึงถึงการรองรับ CPU และ RAM ที่เราต้องการใช้ด้วย
หน่วยความจำหลัก (RAM)
แรมเป็นหน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่รับชุดคำสั่งจากโปรแกรมต่างๆ แล้วส่งต่อไปยัง CPU เพื่อประมวลผลต่อไป RAM ถือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างมาก ส่งผลต่อประสิทธิภาพ และความเร็วในการทำงานของคอมพิวเตอร์ RAM มีมาตรฐานโมดูลหลากหลายรูปแบบ แต่แบบที่นิยมในปัจจุบันคือ DDR RAM ซึ่งมีตั้งแต่ DDR ไปจนถึง DDR4 แล้วแต่ละแบบก็มีความเร็วบัสที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ 100 MHz ไปจนถึง สูงกว่า 3000 MHz ทั้งนี้ยิ่งมีความเร็วบัสที่สูง ราคาก็จะสูงขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน
เป็นอุปกรณ์หลักในการจัดเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์ มี 2 ประเภทคือ 1. Hard disk แบบจานหมุนมีราคาถูก เหมาะแก่การใช้งานทั่วไป 2. Hard disk แบบ Solid-State Drive เป็น Hard disk รูปแบบใหม่ที่ไม่มีจานหมุนหรือส่วนที่เคลื่อนที่ ทำให้รับส่งข้อมูลได้รวดเร็วกว่าแบบธรรมดามาก ช่วยให้การทำงานได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพสูง แต่ยังคงมีราคาค่อนข้างสูงอยู่ การเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์จึงควรเลือกให้ตรงกับความต้องการในการใช้งานมากที่สุด
แหล่งจ่ายไฟสำหรับคอมพิวเตอร์ (Power Supply Unit)
หน้าที่หลักของพาวเวอร์ซัพพลายคือ แปลงกระแสไฟฟ้า (กระแสไฟบ้าน) ให้เหมาะสมกับความต้องการของอุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยหลักแล้ว แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ AT และ ATX โดยที่ Power Supply แต่ละตัวก็จะมีความสามารถในการจ่ายกระแสไฟฟ้าที่ไม่เท่ากัน โดยดูได้จากจำนวนวัตต์ (Watt) ในการเลือกซื้อ Power Supply ควรเลือกแบรนด์ที่ได้มาตรฐาน น่าเชื่อถือ มีจำนวนวัตต์เพียงพอต่อการใช้ของอุปกรณ์ทั้งหมด
หน้าจอแสดงผล (Monitor)
จอมอนิเตอร์ จอภาพ หรือจอคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่แสดงผล ภาพ วิดีโอ และข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับมาจากหน่วยประมวลผลกราฟฟิค หรือการ์ดจอ ปัจจุบันรูปแบบจอมอนิเตอร์ที่นิยมคือ LCD เนื่องจากมีข้อดีหลายอย่างคือ ประหยัดพื้นที่ ประหยัดพลังงาน รวมไปถึงคุณภาพของการแสดงผลที่ดีกว่า จอมอนิเตอร์แบบเก่าอย่าง CRT ทั้งนี้จอมอนิเตอร์แบบ LCD ก็ยังสามารถแบ่งออกได้หลายแบบขึ้นอยู่กับพาแนลของหน้าจอ ตัวอย่างเช่น TN, IPS, S-IPS, AFFS, VA และ AHVA เป็นต้น โดยพาแนลแต่ละแบบก็จะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป จึงควรเลือกซื้อให้เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด
Solid State Drive โซลิดสเตตไดรฟ์ (Solid state drive, SSD) หรือเอสเอสดี คืออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้ชิปวงจรรวมที่ประกอบรวมเป็น หน่วยความจำ เพื่อจัดเก็บข้อมูลแบบถาวรเหมือนฮาร์ดดิสก์ เทคโนโลยีของโซลิดสเตตไดรฟ์ถูกสร้างมาเพื่อทดแทนฮาร์ดดิสก์จึงทำให้มีอินเทอร์เฟส อินพุต/เอ้าพุต เหมือนกันและสามารถใช้งานแทนกันได้ และเนื่องจากโซลิดสเตตไดรฟ์ถูกสร้างด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์จึงไม่มีชิ้นส่วนจักรกลใดๆ ที่มีการเคลื่อนที่ (หลักการของ ฮาร์ดดิสก์ และ ฟรอปปี้ดิสก์ คือใช้จานแม่เหล็กหมุน) ส่งผลให้ความเสียหายจากแรงกระแทกของโซลิดสเตตไดรฟ์นั้นน้อยกว่าฮาร์ดดิสก์ (หรือทนต่อการแรงสั่นสะเทือนได้ดี) โดยการเปรียบเทียบจากการที่โซลิดสเตตไดรฟ์ไม่ต้องหมุนจานแม่เหล็กในการอ่านข้อมูลทำให้อุปกรณ์กินไฟน้อยกว่า และใช้เวลาในการเข้าถึงข้อมูล (access time) และเวลาในการหน่วงข้อมูล (latency) น้อยกว่าเนื่องจากสามารถเข้าถึงข้อมูลในตำแหน่งต่างๆ ได้รวดเร็วและทันทีโดยไม่ต้องรอการหมุนจานแม่เหล็กให้ถึงตำแหน่งของข้อมูล
Accessories N/B DVD ตัวแปลงใส่ HDD เพิ่มแทน DVD ในโน๊ตบุ๊คตัว Drive Bay พอร์ตการเชื่อมต่อที่รองรับเป็นแบบ SATA ทั่วไป รองรับฮาร์ดดิสก์ขนาด 2.5 นิ้ว ใส่ได้ทั้งฮาร์ดดิสก์ทั่วไปและฮาร์ดดิสก์แบบ SSD วัสดุ Drive Bay ทำจากอลูมิเนียม มีความแข็งแรง ลักษณะและขนาดของ Drive Bay และ DVD Drive เท่ากันเป๊ะเลยครับ คือความสูง 12.7 มิลลิเมตร ความกว้าง 128 มิลลิเมตร และความยาว 129 มิลลิเมตร
วิธีการใส่ให้เรานำฮาร์ดดิสก์ขนาด 2.5 นิ้วเสียบไปที่ช่อง SATA ตามภาพทางด้านบนครับและด้านหลังตัว Drive Bay จะมีที่สำหรับล๊อคน๊อต ภายในกล่องมีมาให้แล้ว (ติดตั้งง่ายมาก) และเราก็หัน Drive Bay ด้านนี้สอดเข้าไปแทน DVD Drive ของตัวโน้ตบุ๊กที่เราถอดออกมา
DVD RW ตัวอ่านแผ่น CD, DVD DVD ราคาถูกและเป็นแบบที่ค่อนข้างได้รับความนิยม ด้วยจุดเด่นที่ รองรับการเขียนและข้อมูลใหม่ได้หลายครั้ง แต่เปลี่ยนข้อมูลทั้งแผ่น
Internal Card Reader คืออุปกรณ์อิเลคโทรนิกส์ชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับอ่านข้อมูลในการ์ดหรือหน่วยความจำประเภทต่างๆ โดยในการอ่านหน่วยความจำนั้น ตัว Card Reader เองจะต้องต่ออยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นด้วย ในยุคปัจจุบันมีการผลิตหน่วยความจำชนิดต่างๆออกมามากมาย จุดประสงค์ก็เพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลที่ได้จากอุปกรณ์ประเภทต่างๆ เช่น สมาร์ทโฟน กล้องดิจิตอลและแทบเล็ต เป็นต้น เมื่อต้องการนำข้อมูลเหล่านั้นมาแสดงหรือปรับแต่งในเครื่องคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์สำหรับอ่านหน่วยความจำเหล่านั้นเพื่อนำข้อมูลออกมาใช้งาน เจ้าอุปกรณ์ตัวนี้แหละครับที่เรียกว่า Card reader
Sound Card (การ์ดเสียง) คืออุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถแสดงผลออกมาในรูปแบบเสียงได้ โดยจะทำหน้าที่เรื่องเสียง อย่างเช่น ถ้าวงจรเสียงใช้กับเกมส์ที่เราเล่นจะเกิด เสียงต่าง ๆ หรือสร้างเสียงเอฟเฟคต่างๆ เข้าเป็นวงจรเสียงที่ใช้กับดนตรีชนิดต่างๆ สำหรับสร้างสรรค์งานเพลงที่เราต้องการให้มีคุณภาพของเสียงที่ดีขึ้นกว่าเดิม โดยคุณภาพเสียงจะขึ้นอยู่กับรุ่นและยี่ห้อของ Sound Card
ความชัดเจนของเสียงจะมีประสิทธิภาพดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 2 ประการ คือ อัตราการสุ่มตัวอย่างและความแม่นยำของตัวอย่างที่ได้ ซึ่งความแม่นยำของตัวอย่างนั้นถูกกำหนดโดยความสามารถของ A/D Converter ว่ามีความละเอียดมากน้อยเพียงใด ทำอย่างไรจึงจะประมาณค่าสัญญาณดิจิตอลได้ใกล้เคียงกับสัญญาณเสียงมากที่สุด ความละเอียดของ A/D Converter นั้นถูกกำหนดโดยจำนวนบิตของสัญญาณดิจิตอลเอาต์พุต เช่น
- A/D Converter 8 Bit จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 256 ระดับ
- A/D Converter 16 bit จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 65,536 ระดับ
หากจำนวนระดับมากขึ้นจะทำให้ความละเอียดยิ่งสูงขึ้นและการผิดเพี้ยนของสัญญาณเสียงยิ่งน้อยลง นั่นคือ ประสิทธิภาพที่ของเสียงที่ได้รับดีขึ้นนั่นเองแต่จำนวนบิตต่อหนึ่งตัวอย่างจะมากขึ้นด้วย
- A/D Converter 8 Bit จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 256 ระดับ
- A/D Converter 16 bit จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 65,536 ระดับ
หากจำนวนระดับมากขึ้นจะทำให้ความละเอียดยิ่งสูงขึ้นและการผิดเพี้ยนของสัญญาณเสียงยิ่งน้อยลง นั่นคือ ประสิทธิภาพที่ของเสียงที่ได้รับดีขึ้นนั่นเองแต่จำนวนบิตต่อหนึ่งตัวอย่างจะมากขึ้นด้วย
Computer Case คือตัวถังหรือตัวกล่องคอมพิวเตอร์ หลายคนจะเรียกว่าซีพียูเนื่องจากเข้าใจผิด สำหรับเคสนั้นใช้สำหรับบรรจุอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์หลักของคอมพิวเตอร์เอาไว้ข้างใน เช่น CPU เมนบอร์ด การ์ดจอ ฮาร์ดดิสก์ พัดลมระบายความร้อน และที่ขาดไม่ได้ก็คือ Power Supply ซึ่งจะมีติดอยู่ในเคสเรียบร้อย เคสคอมพิวเตอร์ควรเลือกที่รูปทรงสูงๆ เพื่อจะได้ติดตั้งอุปกรณ์ได้ง่าย และควรเลือกเคสที่มีช่องสำหรับติดตั้งฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ เผื่อเอาไว้หลายๆ ช่องในกรณีที่ต้องการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมในภายหลังจะได้ง่ายขึ้น
Cooling System เมื่ออุปกรณ์ต่างๆ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือโน๊ตบุ๊คมีความร้อน จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ช่วยระบายความร้อน เช่น FAN VGA, FAN RAM, FAN CASE, CPU COOLER, LIQUID COOLING
0 comments:
แสดงความคิดเห็น