MSI X370 GAMING PRO CARBON Gaming Motherboard
ช่วงเวลานี้คงจะหนีไม่พ้นกับกระแสของ AMD RYZEN ที่นับว่าเป็นอีกหนึ่งยุคทองของ CPU จากทาง AMD ยิ่งตอนนี้มีการออกมาของ AMD RYZEN 5 ที่ทำให้ความน่าสนใจของมันมีมากขึ้น ซึ่งทางด้านของเมนบอร์ดสำหรับ Socket AM4 ในเวลานี้ชิพเซ็ต AMD X370 ที่ในตลาดบ้านเราก็มีเข้ามาทำตลาดอยู่หลากหลายตัว ในวันนี้เราจะพาเมนบอร์ดชิพเซ็ต AMD X370 จากแบรนด์ MSI ในโมเดล X370 GAMING PRO CARBON ซึ่งจากชื่อนั้นคงไม่ต้องเดากันให้เสียเวลา กับเมนบอร์ดที่ออกแบบมาตอบโจทย์การใช้งานทางด้านของเกมมิ่ง พร้อมกับการทดสอบจากทาง MSI แล้วสามารถตอบโจทย์การใช้เล่นเกมระดับ eSports ได้ต่อเนื่อง รวมไปถึง MSI X370 GAMING PRO CARBON ที่พกพาฟีเจอร์ที่ติดตัวนั้นตอบโจทย์การใช้งานด้านเกมมิ่งได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญ MSI X370 GAMING PRO CARBON นั้นมาพร้อมกับความสวยงาม รองกับแสงสีไฟ RGB ด้วยฟีเจอร์ Mystic Light และ การรองรับการเค้นประสิทธิภาพจากการโอเวอร์คล็อกได้อีกด้วยครับ
Package & Bundled
แพคเกจที่ให้ถึงประสิทธิภาพแบบซิ่งๆเข้ากับความเป็นโมเดล CARBON ของในชุดจะมี สาย SATA เส้นพร้อมฉลากติดสาย ,สายต่อไฟ LED RGB ,บริจน์ SLI และ ที่ขาดไปไม่ได้กับคู่มือการใช้งานพร้อมแผ่นโปรแกรมการติดตั้ง
Design & Detail
ธีมของเมนบอร์ดที่มาด้วยสีดำตัดกับลายคาร์บอน ที่ดูสวยงามได้อย่างลงตัวมาก ให้ความรู้สึกดุดันกันไป โดยทางด้านการจัดวางอุปกรณ์ถือว่าทำออกมาใช้ได้ แต่มีบางจุดที่อาจกระจายกลุ่ม แต่เวลาใช้งานจริงถือว่ามันลงตัวกับการใช้งานกันได้เหมือนกัน ทาด้านคุณภาพอุปกรณ์บนเมนบอร์ดที่จัดว่าได้คุณภาพจัดเต็มกันตามแบบฉบับของ MSI ทางด้านอุปกรณ์ในส่วนที่เกี่ยวข้อกับภาคจ่ายไฟจุดต่างๆใช้ตามมาตรฐานของ MSI Military Class 4
จาก PCB ที่จะเห็นได้ว่ามันเป็น PCB สีดำผิวด้าน ด้วย PCB ขนาด ATX แบบเต็มใบ ที่ถือว่าการเก็บงานและรายละเอียดต่างๆทำออกมาได้ดีมาก ด้านล่างการการสกรีนฟีเจอร์หลักๆที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นเมนบอร์ดเกมมิ่งอันทรงประสิทธิภาพ
ซีพียูที่รองรับนั้น หลักๆถ้าพูดสั้นๆง่ายๆ Socket AM4 สามารถติดตั้งกับเมนบอร์ดตัวนี้ได้หมด ก็ต้องเป็น RYZEN R7 รวมถึง R5 และ 7th GEN A-Series/Athlon Socket AM4 ที่กำลังจะเปิดตัวอีกไม่นานนี้
สตล็อตติดตั้งแรมนั้นจะเป็นแบบที่มีเกราะโลหะเสริมความแข็งแรง หรือที่ทาง MSI เรียกว่า Steel Armor โดยเมโมรีที่รองรับนั้นเป็นชนิด DDR4 ตามมาตรฐานของ AM4 โดยรองรับการติดตั้งเมโมรีแบบ Dual Channels กันตามมาตรฐาน เมื่อใช้งานร่วมกับ AMD RYZEN ที่รองรับจะอยู่ที่บัส 2133,2400 และ 2666Mhz รวมไปถึงรูปแบบการโอเวอร์คล๊อกระดับ 3200+Mhz (เมนบอร์ดตัวนี้รองรับการปรับบัสซีพียูหรือ Base Clock ได้) โดยความจุสูงสุด 64GB ส่วนการใช้งานร่วมกับ A-Series และ Athlon รองรับจะอยู่ที่บัส 2133 และ 2400Mhz พร้อมทั้งยังมีเทคโนโลยี DDR4 Boost เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบเมโมรีให้สูงขึ้น
ในกล่องจะมีใบคำแนะนำในการติดตั้งโมโมรี บอกให้ชัดเจนกันไปว่าควรติดตั้งแบบไหนกัน
ภาคจ่ายไฟที่มาจัดเต็มทั้งหมด 10 เฟส พร้อมฮีทซิงค์ระบายความร้อนภาคจ่ายไฟเป็นอลูมิเนียมสีดำตัดกับลายคาร์บอน โดยถัดไปจะเป็น I/O Cover พลาสติกสีดำที่ตัดกับลายคาร์บอน เป็นธีมเดียวกันที่เพิ่มความสวยงามดุดดันมากขึ้น
ฮีทซิงค์อลูมิเนียมสีดำตัดกับลายคาร์บอน รับหน้าที่ระบายความร้อนชิพ X370
พอร์ต SATA III 6GB/s จะมีมาทั้งหมดหกพอร์ตบนเมนบอร์ด เป็นการควบคุมโดยชิพ B350 รองรับการเชื่อมต่อ RAID 0 ,1 และ 10
M.2 ช่องบนจะเป็นแบบ PCI-e 3.0 x4 ที่รองรับรับการติดตั้งทั้งสี่ขนาดคือ 2242 ,2260 ,2280 และ 22110 โดยจะมาพร้อมกับ M.2 Shield ช่วยระบายความร้อนได้อีกระดับ แต่ที่แน่ๆมันดูสวยงามกว่าปล่อยเปลือยๆเอาไว้
M.2 ช่องล่าง SATA III หรือ PCI-e 2.0 x4 ที่รองรับรับการติดตั้งทั้งสามขนาดคือ 2242 ,2260 และ 2280
สล๊อต PCI-Express x16 3.0 มาสองสล๊อตเป็นแบบ Steel Armor เมื่อใช้งานกับ RYZEN จะเป็นแบนวิธ X16 หรือ X8 + X8 พร้อมรองรับการเชื่อมต่อกราฟฟิกการ์ด AMD CrossFire และ NVIDIA SLI ส่วนเมื่อใช้งานกับ 7th GEN A-Series/Athlon จะเป็นแบนวิธ X8 นอกนั้นจะมี PCI-Express x16 2.0 (x4) และ PCI Express 2.0 x1 อีกสามสล๊อตให้ใช้งาน
จุดสำหรับการเชื่อมต่อ Bracket Port USB 2.0 และ USB 3.0 ส่วนการเชื่อมต่อไฟ LED RGB และ ปุ่มแสดงตัวอย่างของไฟจากฟีเจอร์ Mystic Light จะอยู่ตรงนี้เช่นกัน
จุดสำหรับการเชื่อมต่อ Bracket Port USB 3.0
จากภาพรวมเมนบอร์ดที่จะมาแนวเข้มๆดุดดัน พอเปิดเครื่องชีวิตเปลี่ยน สีสันกันมากขึ้น
บริเวณซิงค์ของชิพเซ็ตและส่วนระบบเสียงก็มีไฟ LED
ส่วนนี้ก็มีไฟ ที่ข้างๆปลั๊ก 24 Pin จะมาพร้อมกับ LED DeBug ที่ช่วยแสดงสถานะของอุปกรณ์ขณะบูตระบบ
ใส่แรมไปกี่แผลก็มีไฟขึ้น ถ้าอยากให้ขึ้นครบๆก็ใส่สีแถว แต่บัสแรมจะวิ่งแบบสูงสุดไม่ได้
ในส่วนระบบเสียงออนบอร์ด AUDIO Boost 4 รองรับระบบเสียง Hi-Res เล่น DSD แบบ Native ได้แบบออนบอร์ด ด้วยชิพ Realtek ALC1220 รองรับระบบเสียง 7.1 แบบอนาล็อก แล้วมีการใช้คาปาซิเตอร์เกรดเครื่องเสียงจาก Nippon Chemi Con
ในส่วนระบบเสียงออนบอร์ด AUDIO Boost 4 รองรับระบบเสียง Hi-Res เล่น DSD แบบ Native ได้แบบออนบอร์ด ด้วยชิพ Realtek ALC1220 รองรับระบบเสียง 7.1 แบบอนาล็อก แล้วมีการใช้คาปาซิเตอร์เกรดเครื่องเสียงจาก Nippon Chemi Con
Back Panal I/O Ports
1 x PS/2 Combo
1 x DVI-D 1 x HDMI
1 x LAN (RJ45) port(s)
4 x Type-A USB 3.1 Gen1 - USB 3.0
1 x Type-C USB 3.1 Gen2 - USB 3.1
1 x Type-A USB 3.1 Gen2 - USB 3.1 (Gold Plate)
2 x USB 2.0
1 x 7.1-channel Audio
1 x SPDIF Out
ขอบคุณแหล่งที่มา : https://www.overclockzone.com
0 comments:
แสดงความคิดเห็น