ขายเมาส์ ขายคีย์บอร์ด ขายหูฟัง ขายเกมส์มิ่งเกียร์ (ติดต่อ Line ID: pairach.aud)

This is default featured slide 1 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 2 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 3 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 4 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 5 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

วันเสาร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2564

ใช้ WiFi Router N300 แต่ทำไมได้ speed แค่ 30

 

ใช้ WiFi Router N300 แต่ทำไมได้ speed แค่ 30

N300WiFi router ที่มากับเน็ตบ้านส่วนใหญ่เป็นรุ่นสองเสา ปล่อย WiFi ความถี่เดียวคือ 2.4 GHz เราเตอร์รุ่นนี้ในตลาดเรียกว่า N300 หมายความว่ารองรับความเร็วได้สูงสุดถึง 300 Mbps แต่พอใช้งานจริงกับเน็ตบ้านความเร็ว 50 Mbps กลับปล่อย WiFi ได้เพียง 30-36 Mbps เท่านั้น ทำไมไม่ได้เต็ม 50 Mbps ทั้งที่สเปคเป็น N300?

ในอดีต WiFi Router ที่มากับเน็ตบ้านมีเสาเดียว เรียกว่า N150 (ตอนนี้ก็ยังมีขายอยู่ตามร้านคอม) เจ้า N150 นี้โฆษณาว่ารองรับความเร็วสูงสุดถึง 150 Mbps แต่ส่งข้อมูลจริงๆได้เพียงครึ่งเดียว อีกครึ่งหนึ่งเสียไปกับ protocol overhead และการหยุดรอคนอื่นเมื่อสัญญาณ WiFi ชนกัน ดังนั้นโดยทั่วไป WiFi จะทำ speed ได้ประมาณ 50% ของ spec นั่นคือ N150 ก็จะได้ speed สูงสุดประมาณ 75 Mbps

WiFi ย่าน 2.4 GHz มีช่องสัญญาณให้เลือก 13 ช่อง แต่ว่าแต่ละช่องเกยทับกันอยู่ ถ้าจะปล่อยสัญญาณ WiFi ไม่ให้กวนกันต้องเว้นไป 5 ช่อง ดังนั้นจึงเลือกได้เพียง 3 ช่องเท่านั้นที่ไม่กวนกัน เช่น ช่อง 1, 6, 11 โดยช่องสัญญาณแต่ละช่องมีขนาด 20 MHz แต่การที่จะได้ความเร็ว download 75 Mbps นั้น เราต้องใช้ช่องสัญญาณ 2 ช่องมาต่อกัน เป็นช่องสัญญาณขนาด 40 MHz

40MHz

เป็นที่รู้กันว่าสัญญาณ WiFi ในย่าน 2.4 GHz ในตัวเมืองเบียดเสียดหนาแน่นมาก การเปิดช่องสัญญาณกว้าง 40 MHz ไม่ให้กวนกับใครแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เมื่อสัญญาณ WiFi มีการส่งชนกัน อุปกรณ์แต่ละตัวจะหยุดรอเพื่อผลัดกันให้อุปกรณ์ WiFi ได้ส่งสัญญาณทีละตัว การเปิดช่องสัญญาณกว้าง 40 MHz จึงมักจะได้ความเร็ว WiFi ต่ำกว่าช่องสัญญาณ 20 MHz เพราะช่องสัญญาณ 40 MHz จะซ้อนทับกับสัญญาณ WiFi ของคนอื่นเต็มไปหมด ไม่ว่าใครส่งสัญญาณเราก็ต้องหยุดรอ ในทางปฏิบัติ การใช้ WiFi ในย่าน 2.4 GHz จะใช้ช่องสัญญาณกว้าง 20 MHz เท่านั้น ยกเว้นการใช้งานในพื้นที่ห่างไกลนอกตัวเมือง เมื่อใช้ช่องสัญญาณกว้าง 20 MHz จะได้ความเร็ว download สูงสุดไม่เกิน 36 Mbps

เมื่ออุปกรณ์ WiFi router มีการพัฒนาจาก N150 เสาเดียวมาเป็น N300 สองเสา ก็จะสามารถรับส่งข้อมูลได้เร็วขึ้นเป็นสองเท่าได้ (จาก 36 Mbps เป็น 72 Mbps) โดยใช้เทคโนโลยี MIMO คือการแบ่งข้อมูลเป็นสองส่วน ส่งจากเสาคนละต้น อุปกรณ์ปลายทางก็ต้องมีเสารับสองต้น รับข้อมูลมารวมกัน ถ้าอุปกรณ์ปลายทางมีเสาเดียวก็จะได้ความเร็วไม่ต่างจาก N150

ข้อจำกัดของเทคโนโลยี MIMO คือเสาสองต้นต้องห่างกันพอสมควรจึงจะสามารถแยกแยะสัญญาณจากเสาแต่ละต้นได้ โทรศัพท์ smart phone ทั่วไปจะฝังสายอากาศ WiFi ไว้ภายในเครื่อง และมักจะมีสายอากาศ WiFi เพียงต้นเดียว เพราะถูกจำกัดด้วยขนาดของ smart phone ดังนั้นเมื่อใช้ smart phone ทดสอบความเร็วของสัญญาณ WiFi จาก router N300 สองเสาที่มากับเน็ตบ้านทั่วไปจึงได้ความเร็วไม่เกิน 36 Mbps

ถ้าติดเน็ต 50 Mbps แล้วต้องการให้ WiFi มาเต็ม 50 Mbps ต้องใช้ WiFi ย่าน 5 GHz มาช่วย เพราะย่าน 5 GHz รองรับช่องสัญญาณ WiFi กว้าง 40 MHz ได้ถึง 11 ช่องที่ไม่กวนกัน ข้อเสียของ WiFi ย่าน 5 GHz คือสัญญาณส่งได้ไม่ไกลเท่า 2.4 GHz แต่ก็เป็นข้อดีเพราะสัญญาณ WiFi 5 GHz จากข้างบ้านก็จะถูกลดทอนจนไม่มากวนกับบ้านเรา แต่อุปกรณ์ในบ้านก็ต้องรองรับ WiFi 5 GHz ด้วยจึงจะรับสัญญาณได้ครับ

Share:

AC1200 | AC1750 | AC2100 | AC3200 | N300 แตกต่างกันอย่างไร

 ในการตัดสินใจว่าอุปกรณ์ใดที่เหมาะสมกับการใช้งาน จะต้องรู้ถึงสเปค AC  และความแตกต่างระหว่าง Single-Band, Dual-Band และ Tri-Band เพื่อที่จะช่วยเลือกเราเตอร์ที่ดีที่สุดและเหมาะสมสำหรับการใช้งาน ซึ่งในที่นี้เราจะมาพูดถึงรายละเอียดของฟังก์ชั่น ความพิถีพิถัน และการเปลี่ยนแปลงทางเทคนิคที่สำคัญ ระหว่างรุ่น AC ที่แตกต่างกัน และเราเตอร์ เช่น AC1200s, AC1750, AC2100, AC3200 และ N300

ก่อนอื่นเราควรจะทราบก่อนว่า โครงสร้างพื้นฐานการสื่อสารบนเครือข่าย WiFi ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลักๆ คือ

  1. แกดเจ็ตและเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น แล็ปท็อป แท็บเล็ต อุปกรณ์ในบ้าน และสมาร์ทโฟน เป็นสถานี (clients)
  2. WiFi Router เป็นจุดเชื่อมต่ออุปกรณ์ WiFi ทั้งหมดเข้าด้วยกัน และทำหน้าที่รับส่งข้อมูลรวมถึงกระจายกระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ต

แล้ว AC คืออะไร

AC หมายถึง เราเตอร์ WiFi ที่รองรับมาตรฐานเครือข่ายไร้สาย IEEE 802.11ac หรือ WiFi 5 ซึ่งใช้ความถี่คลื่นวิทยุ 5 GHz สำหรับการเชื่อมต่อ และถือว่าเป็นรุ่นไฮไลต์ที่สุดของมาตรฐานเครือข่ายไร้สาย เนื่องจากได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจาก 802.11 เป็น 802.11b / g และ 802.11n เพื่อให้ได้ความเร็วที่เพิ่มขึ้นและประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น

การที่ AC ตามด้วยตัวเลขสี่หลัก “ACxxxx” นั้นอธิบายถึงความเร็วไร้สายของมาตรฐาน IEEE 802.11ac ที่มีความหลากหลายแตกต่างกันไปตามตัวเลขสี่หลัก

อีกทั้งผู้ขายเราเตอร์ยังได้เพิ่มฟังก์ชั่นขึ้นมากมายภายใต้มาตรฐาน AC ตัวอย่างเช่น การทำ Beamforming ที่ทำให้เราเตอร์สามารถส่งสัญญาณไปยังอุปกรณ์ต่างๆ ได้ดีขึ้นและประหยัดการใช้พลังงาน

ตัวอย่างแบรนด์เราเตอร์ไร้สาย ที่เป็นที่นิยมที่สุดที่ใช้มาตรฐาน AC ได้แก่ Netgear, TP-Link, Arris, ASUS, D-Link, Tenda, Linksys, Eero, Motorola, Google WiFi

เบื้องหลังตัวเลข 4 หลักของ AC “ACxxxx”

ตัวเลขหลัง AC คือ ตัวเลขกำหนดระดับความเร็วรวมสูงสุดตามทฤษฎีไร้สาย มีหน่วยวัดเป็น Mbps ซึ่งตัวเลขนี้เป็นความเร็วแบนด์วิดท์ของอุปกรณ์เราเตอร์ ที่ได้จากการวัดความเร็วในการส่งข้อมูลจากไคลเอ็นต์ไปยังเราเตอร์ และเนื่องจากความเร็วนี้เป็นความเร็วรวมสูงสุดตามทฤษฎีทำให้ความเร็วรวมที่ได้สูงกว่าค่าที่วัดได้จริง

ตัวอย่างเช่น เราเตอร์ AC1750 มีหมายความว่า เราเตอร์มีความเร็วตามทฤษฎีไร้สายสูงสุดรวม 1750Mbps ซึ่งความเร็วที่ได้ประกอบด้วยความเร็วลิงค์สูงสุด 450Mbps ที่ 2.4 GHz และ 1300Mbps ที่ 5 GHz รวมกันมีค่าเท่ากับ 1750Mbps

Single-Band | Dual-Band | Tri-Band

จากที่กล่าวมาข้างต้น เราสามารถจัดประเภทของ WiFi AC จากจำนวนคลื่นความถี่ที่ AC รองรับได้ดังนี้

  • รุ่น AC ที่สูงถึง AC1000 สามารถรองรับความถี่ได้จำนวนหนึ่งแบนด์ที่ 2.4 GHz เรียกว่า “Single-Band”
  • รุ่น AC ที่สูงกว่า AC1000 แต่ไม่เกิน AC2900 สามารถรองรับความถี่ได้จำนวนสองแบนด์ที่ 2.4 GHz และ 5 GHz เรียกว่า “Dual-Band”
  • รุ่น AC ที่สูงตั้งแต่ AC3000 ขึ้นไปสามารถรองรับความถี่ได้จำนวนสามแบนด์ คือที่ 2.4 GHz หนึ่งแบนด์และ 5 GHz สองแบนด์ เรียกว่า “Tri-Band”
Dual-Band
Tri-Band

ความแตกต่างระหว่าง 2.4 GHz และ 5 GHz

ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างสองความถี่นี้คือย่านความถี่และแบนด์วิดท์

ย่านความถี่ 2.4 GHz สามารถส่งสัญญาณครอบคลุมพื้นที่ได้มากกว่า แต่ความเร็วในการส่งข้อมูลต่ำ อีกทั้งยังเป็นช่วงความถี่ที่มีความแออัดของสัญญาณ เนื่องจากมีการถูกนำมาใช้กับเทคโนโลยีและอุปกรณ์มากมายที่ใช้ WiFi เช่น เตาอบ, ไมโครเวฟ, โทรศัพท์ไร้สาย, ที่เปิดประตูโรงรถ และลำโพง Bluetooth เป็นต้น

ในขณะที่ย่านความถี่ 5 GHz มี 23 ช่องสัญญาณสำหรับอุปกรณ์ ที่ช่วยลดความเสี่ยงจากความแออัดของสัญญาณ ซึ่งมากว่าย่านความถี่ 2.4 GHz ที่มีเพียง 11 ช่องสัญญาณ รวมถึงสามารถส่งข้อมูลได้มากขึ้นด้วยความเร็วของย่านความถี่ 5 GHz เหนือกว่าการใช้ย่านความถี่ 2.4GHz ที่ความเร็วของการเชื่อมต่อ WiFi นั้นอาจได้รับผลกระทบเนื่องจากการรบกวนจากอุปกรณ์อื่น

หลังจากคำอธิบายโดยละเอียดเกี่ยวกับ AC และทำความเข้าใจคลื่นความถี่ 2.4 และ 5 GHz ก็ถึงเวลาที่จะทำความรู้จักคุณสมบัติเพิ่มเติมและการเปรียบเทียบระหว่างข้อกำหนดต่าง ๆ ของรุ่น AC

AC3200

เราเตอร์รุ่น AC3200 หรือ ultra WiFi routers หนึ่งในเราเตอร์ Tri-Band ที่มีราคาสูงที่สุด ที่มาพร้อมกับความสามารถในการขยายสัญญาณที่มีความเสถียร ร่วมกับการจัดการเครือข่าย WiFi ชุดใหม่ ซึ่งทำให้ AC3200 ถือว่าเป็นเราเตอร์ที่มีเทคโนโลยีสูง และเป็นมิตรกับผู้ใช้งานที่มาพร้อมกับข้อกำหนดที่ทันสมัยและสิ่งอำนวยความสะดวก

เราเตอร์นี้สามารถมอบความเร็วแก่ผู้ใช้งาน WiFi ได้เร็วขึ้นสูงสุดถึง 3200Mbps โดยจะทำงานได้อย่างสมบูรณ์เมื่อความเร็วอินเทอร์เน็ต ISP อยู่ที่ 300Mbps ขึ้นไป ซึ่งมีประโยชน์สำหรับในกรณีที่มีการรับส่งข้อมูลจำนวนมาก เช่น การสตรีมวิดีโอ HD การอัปโหลดวิดีโอ และการเล่นเกมออนไลน์ เป็นต้น

AC2100

เราเตอร์รุ่น AC2100 พัฒนาต่อมาจาก AC1750 โดยการเพิ่มคุณสมบัติ ความกว้างช่องสัญญานเป็น 160Mhz เป็นรุ่นท๊อปของ Dual Band WiFi5 ทำงานด้วยความเร็ว WiFi รวมสูงประมาณ 2100Mbps แบ่งเป็น 2.4GHz ทำงานที่ความเร็ว 450mbps และ 5GHz ทำงานที่ความเร็ว 1600Mbps รองรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตระดับ กิกะบิต1000Mbps หากเคริ่องรองรับช่องสัญญาน 160Mhz จะทำให้สามารถทดสอบความเร็วได้ใกล้เคียงระดับกิกะบิตอีกด้วย  เหมาะสำหรับการสตรีมระดับ 4K การแชร์ไฟล์ ฯลฯ และ มีความสามารถในการทำ beamforming ที่ช่วยเพิ่มความแรงของสัญญาณไปยังแต่ละอุปกรณ์เชื่อมต่อ และมี 4 พอร์ต LAN Gigabit สำหรับการเชื่อมต่อแบบใช้สายกับอุปกรณ์

AC1750

เราเตอร์รุ่น AC1750 หนึ่งในเราเตอร์ WiFi ยอดนิยมใช้สำหรับการเชื่อมต่อแบบ dual-band ทำงานด้วยความเร็ว WiFi รวมสูงประมาณ 1750Mbps แบ่งเป็น 2.4GHz ทำงานที่ความเร็ว 450mbps และ 5GHz ทำงานที่ความเร็ว 1300Mbps โดยจะทำงานได้อย่างสมบูรณ์เมื่อความเร็วอินเทอร์เน็ต ISP อยู่ที่ 100Mbps ขึ้นไป ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการสตรีมระดับ 4K การแชร์ไฟล์ ฯลฯ

เราเตอร์รุ่นนี้ยังมีความสามารถในการทำ beamforming ที่ช่วยเพิ่มความแรงของสัญญาณไปยังแต่ละอุปกรณ์เชื่อมต่อ และมี 4 พอร์ต LAN Gigabit สำหรับการเชื่อมต่อแบบใช้สายกับอุปกรณ์

AC1200

เราเตอร์รุ่น AC1200 ทำงานด้วยความเร็ว WiFi รวมสูงถึง 1.2 Gbps เชื่อมต่อแบบ Single-Band ที่ 2.4 GHz ที่ความเร็ว 1200Mbps ใช้งานง่ายเนื่องจากติดตั้งง่ายและใช้เทคโนโลยี plug and play เหมาะสำหรับการสตรีมทั่วไป และการแชร์ไฟล์

N300

เราเตอร์รุ่น N300 หรือ Wireless Gigabit Router ทำงานด้วยความเร็ว WiFi รวมสูงสุด 300 Mbps ที่มีทั้งความรวดเร็วและประสิทธิภาพ เพื่อมุ่งเน้นการสตรีมภาพยนตร์ความละเอียดสูงและการเล่นเกมออนไลน์ ดังนั้นเราเตอร์รุ่นนี้จึงเป็นทั้งเราเตอร์มาตรฐาน 802. 11 a/b/g/n และเราเตอร์ WiFi มาตรฐาน 2.4 GHz ทำให้สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ไร้สายและคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าที่ได้รับการอัปเดตได้อย่างสมบูรณ์ในเครือข่าย WiFi เดียวกัน



Share:

Blog Archive

Total Pageviews

Facebook FANPAGE